Thai Arabic Chinese (Traditional) English Filipino French German Japanese Korean Spanish Vietnamese Yiddish

แผนยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรจังหวัดนนทบุรี

แผนยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติ

– ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อสภาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
กลยุทธ์

๑) สร้างเครือข่ายสภาเกษตรกร
๒) พัฒนาบุคลากรและระบบงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด
๓) แก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อประกอบการตัดสินใจ
กลยุทธ์ ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย

๑) ระดับของข้อมูล ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก
๒) ชนิดของข้อมูล ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ข้อมูลการเกษตรในเรื่องการผลิตสินค้าคู่แข่งอื่น
๓) ผู้ใช้ข้อมูล เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยตรวจสอบ
๔) การพัฒนาข้อมูล ข้อมูลเป็นจริงพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ ป้องกันความเสี่ยงได้ ป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรได้

-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ บูรณาการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติจากล่างสู่บน
กลยุทธ์

๑) จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรโดยใช้ฐานข้อมูลของเกษตรกรตั้งแต่ระดับหมู่บ้านสู่จังหวัด
๒) บูรณาการแผนพัฒนาการเกษตรของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และแผนแม่บทในการพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติ

ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรจังหวัด
ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรจังหวัดมีการกำหนดยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

                        เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพา ตนเองได้ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เป็น ผู้ประกอบธุรกิจเกษตรบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการทำเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรมืออาชีพให้สามารถบริหารจัดการฟาร์มแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต แปรรูป และการตลาด ตลอดจนสร้างการรวมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งและสามารถเชื่อมโยงเครือข่าย ของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์

- กลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร สามารถรวมกลุ่มตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตรบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเองได้

- ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาการเกษตรระหว่างภาครัฐ เอกชน เกษตรกร องค์กรเกษตรกรและผู้บริโภค และได้รับการสนับสนุนการขยายช่องทางด้านการตลาดและเชื่อมโยงระหว่างการผลิตกับการตลาด

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร รวมกลุ่มกันขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรและมีสมาชิกการทำธุรกิจหรือกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้าเกษตรหรือสินค้าแปรรูป

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมของกลุ่มตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                                     2.ประสานหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในการสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้าเกษตรหรือสินค้าแปรรูป

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมและพัฒนาการทำการเกษตรต่อยอดสู่เกษตรเชิงพาณิชย์

                                     2.สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเป็นรูปแบบผสมผสาน เน้นอินทรีย์และปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างเครือข่ายเกษตรกร องค์กรเกษตรกร เชื่อมโยงช่องทางการตลาดจากภาครัฐและเอกชน

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมการเปิดร้านค้าออนไลน์ ออฟไลน์ และช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร

                                      2.ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้าเกษตรหรือสินค้าแปรรูปทั้งภาครัฐและเอกชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างพัฒนาผลผลิตและสินค้าทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมาตรฐานและมีมูลค่าเพิ่ม

                        เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างโอกาสในการแข่งขันให้สินค้าเกษตรได้มาตรฐานรองรับความต้องการของตลาด ส่งเสริมการบริหารจัดการผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตั้งแต่เกษตรกร องค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างเรื่องราว (Story) ให้กับสินค้าเกษตรและชุมชน โดยให้มีส่วนร่วมสนับสนุนพัฒนาระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

เป้าประสงค์

- กลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่ม

- กลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาปรับใช้ในการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนกลุ่มเกษตร/องค์กรเกษตรกรพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรมีมาตราฐานและการเกิดรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปสินค้าเกษตร

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เช่น การลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การแปรรูป การพัฒนาคุณภาพหรือการยืดอายุ/การคงรักษาสภาพสินค้าเกษตร ฯลฯ

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่ม

                                     2.ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีเอกลักษณ์และมูลค่าตามความต้องการตลาด/ผู้บริโภค

                                     2.ส่งเสริมการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างเทคโนโลยีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และงานวิจัยภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

                         เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนาการเกษตรให้มีศักยภาพให้เกษตรกรก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสนับสนุนเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร และสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ เน้นการเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกร

เป้าประสงค์

- เทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตร

- เกษตรกรมีส่วนร่วมในการร่วมงานวิจัย สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงตามความต้องการของเกษตรกร และพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ได้มาซึ่งผลกำไรในภาคเกษตรกรรม

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการนำเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อนำมาปรับใช้ด้านการผลิตสินค้าเกษตร,การแปรรูปอย่างมีประสิทธิภาพ

- ผลงานวิจัยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมสร้างรายได้และลดต้นทุนการผลิต

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการเกษตร

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ด้านการเกษตร

                                     2.ส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม เครื่องจักรกลเกษตร

กลยุทธ์ที่ 2 การค้นคว้าวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น/เทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสมมาปรับใช้ด้านการเกษตรกรรมและเกษตรอุตสาหกรรม

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการร่วมงานวิจัยด้านการเกษตร

                                     2.สนับสนุนปัจจัยการผลิตในการศึกษาทดลองใช้งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ดิน และสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

                         สนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเชิงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรและสร้างภูมิคุ้มกันทางการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าประสงค์

- การทำการเกษตรแบบยั่งยืนหรือเกษตรเชิงอนุรักษ์ ปรับปรุง/ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

- การเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพิ่มระบบชลประทานเพื่อการขยายพื้นที่รับน้ำภาคการเกษตรและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ขุดลอก ซ่อมแซมปรับปรุงประตูน้ำ คันกั้นน้ำ ให้สามารถส่งน้ำทำการเกษตรได้

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางการเกษตร

- จำนวนหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นหรือที่เกี่ยวข้องขุดลอกคลองที่ตื้นเขิน เก็บวัชพืชที่ขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับปริมาณน้ำและการไหลของน้ำ พร้อมด้วยการบำรุงรักษาประตูน้ำ/คันกั้นน้ำให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

กลยุทธ์ที่ 1 ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตร

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบยั่งยืนหรือเกษตรเชิงอนุรักษ์

                                     2.ส่งเสริมการปรับปรุง ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตร

กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนและส่งเสริมการทำเกษตรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา       1.ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณการใช้สารเคมี ละ เลิก เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                                     2.ส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษให้แก่เกษตรกร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมให้เกษตรกรขุดสระน้ำ บ่อบาดาล การกักเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อไว้ใช้ในฤดูแล้ง

                                     2.หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นหรือที่เกี่ยวข้องขุดลอกคลองที่ตื้นเขิน เก็บวัชพืชที่ขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับปริมาณน้ำและการไหลของน้ำพร้อมด้วยการบำรุงรักษาประตูน้ำ/คันกั้นน้ำให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 อนุรักษ์ฟื้นฟูพืชพันธุ์กรรมในท้องถิ่นให้สืบทอดสู่ทายาทเกษตรกร

                         สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นอนุรักษ์ฟื้นฟูพืชพันธุ์กรรม ผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่และสืบทอดสู่ทายาทเกษตรกร จัดกระบวนการให้เป็นระบบมากขึ้นเพื่อไม่ให้ภูมิปัญหาท้องถิ่น,พืชพันธุ์กรรมสูญหายไปและสามารถดำรงอยู่ท่ามกลางสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสืบสานและฟื้นฟูพัฒนาเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

เป้าประสงค์

- อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น,ฟื้นฟูพืชท้องถิ่นและกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาพืชพันธุ์กรรมท้องถิ่นสู่การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

- ยุวเกษตรกร/การสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมจากรุ่นสู่รุ่นเกิดขึ้นในพื้นที่ของเกษตรกร

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนเกษตรกรมีความตะหนักในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นและพืชในชุมชน

- มีจำนวนสินค้าเกษตรของจังหวัดขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

กลยุทธ์ที่ 1 สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟื้นฟูพืชพันธุ์กรรม

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น,ฟื้นฟูพืชท้องถิ่น

                                     2.ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมจากรุ่นสู่รุ่น

แนวทางการพัฒนา       1.ถ่ายทอดองค์ความรู้การทำอาชีพเกษตรกรรมสู่เยาวชน/ยุวเกษตรกร

                                     2.ส่งเสริมกิจกรรมสร้างแรงจูงใจการเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเกษตรเชิงสร้างสรรค์

                        การท่องเที่ยวเกษตรเชิงสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริม ยังทำให้วิถีวัฒนธรรมเกษตรกรรมได้รับการยกระดับในแง่ของสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการหวนกลับไปใช้วิธีการทำเกษตรกรรมแบบไม่มุ่งเน้นที่เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการเร่งรัดผลผลิตอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน การดำรงความสัมพันธ์ทางสังคมภายในชุมชนโดยมีฐานบนวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การท่องเที่ยวเกษตรจะเป็นการยกระดับวิถีเกษตรกรรมอันส่งผลต่อสุขภาวะและเศรษฐกิจของชุมชน

เป้าประสงค์

- แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจรและเหมาะกับบริบทของครอบครัวและชุมชนเกษตรกรรม ที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนได้

- กระบวนการและมาตรฐานการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและชุมชน

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

- จำนวนกลุ่มเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

- มีการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เชื่อมโยงกับวิถีเกษตร

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมกิจกรรมการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

                                     2.ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เชื่อมโยงกับวิถีเกษตร

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการด้านท่องเที่ยวเกษตรให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่า

แนวทางการพัฒนา       1.ส่งเสริมกระบวนการและมาตรฐานการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

                                     2.ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและชุมชน























 




นายสำเริง สุนทรแสง
ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนนทบุรี

 









mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้348
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้344
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2180
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3314
mod_vvisit_counterเดือนนี้5494
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว12149
mod_vvisit_counterทั้งหมด326198

We have: 12 guests online
IP: 18.97.9.172
วันนี้: ธ.ค. 12, 2024

















ลิขสิทธิ์ © 2562 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดนนทบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดนนทบุรี อาคารยิมส์นีเซี่ยม สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11140 โทร 02-4095229